การใช้งานระบบปฏิบัติการไมโครซอฟต์วินโดวส์วิสต้า

    ระบบปฏิบัติการ
ความหมายระบบปฏิบัติการ
ระบบปฏิบัติการ (Operationg System) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า โอเอส (OS) เป็นโปรแกรมประเภทหนึ่งที่ทำงานในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยอัตโนมัติเมื่อเปิดเครื่องและทำงานตลอดไปจนกระทั่งผู้ใช้งานปิดเครื่องระบบปฏิบัติการทำหน้าที่บริหารจัดการทรัพยากรต่างๆ ภายในเครื่อง ระบบปฏิบัติการเป็นผู้ควบคุมโปรแกรมอื่นๆ ให้อยู่ภายใต้มาตรฐานเดียวกัน
                โดยทั่วไประบบปฏิบัติการจะทำงานอยู่บนเครื่องระบบใดระบบหนึ่ง เช่น ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟต์วินโวส์ออกแบบมาให้ทำงานบนเครื่องพีซีและซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการจะเรียกว่าแอปพิเคชัน ซึ่งได้รับการออกแบบมาให้ทำงานบนระบบปฏิบัติการนั้น

       ประวัติโดยย่อของระบบปฏิบัติการ
                ระบบปฏิบัติการในยุคแรกของเครื่องพีซี เกิดขึ้นในยุคปี ค.ศ.1980 มีหน้าจอเป็นตัวอักษรทำงานโดยการโหลดข้อมูลจากแผ่นดิสก์เมื่อตอนเปิดเครื่อง ที่ได้รับความนิยมคือ เอ็มเอสดอส (MS-DOS) ของไมโครซอฟต์และพีซีดอส (PC-DOS) ของไอบีเอ็ม ใช้งานโดยพิมพ์คำสั่ง ทีละคำสั่งและใช้วิธีพิมพ์ชื่อโปรแกรมเพื่อเรียกใช้งานโปรแกรมนั้นๆ
                ในยุคต่อมาแอปเปิ้ลแม็คอินทอซ (Apple Macintosh) ได้นำเสนอระบบปฏิบัติการ แม็คโอเอส (Mac OS) ที่มีหน้าจอกราฟิก เรียกว่า ส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ หรือ กุย (GUI – Graphics User Interface) รับข้อมูลจากผู้ใช้งานด้วยเมาส์ ซึ่งระบบ ส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้นี้ได้ใช้งานมาจนถึงทุกวันนี้

      การจัดการไฟล์และโฟลเดอร์
ไฟล์และโฟลเดอร์ (file and folder)
                ไฟล์หรือแฟ้มเอกสาร เป็นข้อมูลที่เก็บไว้ในเครื่อง ข้อมูลทั้งหมดจะอยู่ในไดร์ฟ (Drive) ไฟล์อาจจะเป็นข้อมูลตัวอักษร ไฟล์ภาพ ไฟล์เสียง ไฟล์โปรแกรม หรืออื่น ๆก็ได้
                ชื่อไฟล์จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ชื่อและนามสกุล คั่นด้วยเครื่องหมายจุด ตัวอย่างเช่น
Workbook.txt
แทนชื่อไฟล์ Workbook นามสกุล txt
ชื่อไฟล์ประกอบด้วยตัวอักษรและตัวเลข และภาษาไทยได้ แต่ห้ามใช้เครื่องหมายสัญลักษณ์และอักษรพิเศษ เช่น !@#$%^&*?  เป็นต้น
นามสกุลของไฟล์ โดยทั่วไปจะใช้
.exe .com .bat   แทนไฟล์โปรแกรม (สามารถทำงานได้)
.dll .sys  ไฟล์ระบบ
.dat  ไฟล์ข้อมูล
.msi  โปรแกรมติดตั้ง
.hlp  ไฟล์ช่วยเหลือ
.txt  ไฟล์ข้อความ สามารถเปิดอ่านได้
.wav .mp3 .mid  ไฟล์เสียง สามารถฟังเสียงได้
.jpg .bmp .gif  ไฟล์ภาพ
.doc .xls .ppt   ไฟล์เอกสารของโปรแกรมออฟฟิศ
.htm .html   ไฟล์เว็บ
.c .cpp .java .bas .py .pl .pas   ไฟล์ของชุดคำสั่งซอฟต์แวร์
.zip .rar .gz.tgz   ไฟล์ข้อมูลที่ถูกย่อขนาดไว้
เป็นต้น
โฟลเดอร์ เป็นที่สำหรับเก็บรวบรวมไฟล์หลายๆไฟล์ไว้ในที่เดียวกัน หลักการตั้งชื่อโฟลเดอร์เช่นเดียวกับไฟล์ แต่โฟลเดอร์ไม่ต้องมีนามสกุล โฟลเดอร์สามารถสร้างซ้อนกันได้เรื่อยๆ

       เกี่ยวกับการเลือกไฟล์จากโฟลเดอร์
                การเลือกไฟล์ทำได้โดยการใช้เมาส์คลิกที่ชื่อไฟล์ ชื่อไฟล์นั้นจะมีแถบสีขึ้น
ถ้าไม่ต้องการเลือกไฟล์ให้คลิกที่บริเวณที่ว่างด้านข้างเป็นการยกเลิกการเรียกไฟล์
สำหรับการเลือกไฟล์จำนวนมากจะใช้การลากเมาส์ (Drag) ในบริเวณว่างของโฟลเดอร์ไปยังชื่อไฟล์ที่ต้องการ
สำหรับเลือกเฉพาะไฟล์บางไฟล์ ให้กดปุ่ม CTRL ที่แป้นพิมพ์ค้างไว้และใช้เมาส์คลิกที่ชื่อไฟล์ ชื่อไฟล์นั้นจะมีแถบสีขึ้นและให้ปล่อยปุ่ม CTRL ได้
ถ้าหากต้องการเลือกไม่เอาเฉพาะบางไฟล์ก็ทำเช่นเดียวกัน คือ ให้กดปุ่ม CTRL ที่แป้นพิมพ์ค้างไว้และใช้เมาส์คลิกที่ชื่อไฟล์และปล่อยปุ่ม CTRL
ไฟล์ได้รับการเลือกแล้วจะสามารถย้ายที่เก็บ คัดลอกหรือลบ จะกล่าวในหัวข้อต่อไป

       ไอคอน (Icon)
                เป็นรูปภาพขนาดเล็ก สื่อความแทนสัญลักษณ์ต่างๆ ใช้แทนไฟล์และการทำงานในวินโดวส์ ไอคอนอาจใช้สื่อความแทนอุปกรณ์ของจริง


                          ไปที่ Views จะสามารถเลือกมุมมองการแสดงผลได้หลายแบบ ตั้งแต่รายชื่อไฟล์ ไปจนถึงมุมมองแบบไอคอนใหญ่
           การเลือกขนาดมุมมองไอคอนของโฟลเดอร์


การเลือกมุมมองของโฟลเดอร์

           สรุป
                 ในบทนี้ได้กล่าวถึงความหมายของระบบปฏิบัติการ ประวัติของระบบปฏิบัติการโดยสังเขป การใช้งานขั้นพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับระบบปฏิบัติการ แนวคิดของโฟลเดอร์ ไอคอน การจัดการกับไฟล์ การนำไฟล์ที่ลบแล้วกลับมา