คอมพิวเตอร์และการทำงานของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน ได้ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ว่า
คอมพิวเตอร์ น. เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เสมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่าง ๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อน โดยวิธีทางคณิตศาสตร์.
และจากพจนานุกรมวิกิพีเดียได้ให้คำจำกัดความว่า "คอมพิวเตอร์ หมายถึง เครื่องจักรที่สามารถประมวลผลข้อมูลด้วยชุดคำสั่ง
จึงสรุปได้ว่า คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องจักรหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถประมวลผลแบบอัตโนมัติใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆด้วยวิธีทางคณิตศาสตร์และทำงานตามชุดคำสั่งที่กำหนดให้
หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
การทำงานของคอมพิวเตอร์แบ่งเป็น 4 ส่วน คือ
- ส่วนรับข้อมูล (Input unit) ทำหน้าที่รับข้อมูลจากผู้ใช้งานหรือจากอุปกรณ์รับข้อมูลอื่นๆ เช่น รูป ภาพ เสียง รวมถึงข้อมูลจากเครือข่าย สสัญญาณวิทยุ เป็นต้น
- ส่วนประมวลผล (Process unit) ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูล จากข้อมูลที่ได้รับมาจากส่วนรับข้อมูล และส่งให้ส่วนอื่น ๆ ต่อ
- ส่วนแสดงผล (Output unit) ทำหน้าที่แสดงผลข้อมูลจาก ส่วนประมวลผล ให้ผู้ใช้งานได้รับทราบการแสดงข้อมูล อาจทำให้ลักษณะ รูป ภาพ เสียง เป็นต้น
- ส่วนจัดเก็บข้อมูล (Storage unit) ทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูล จากส่วนประมวลผล และนำข้อมูลส่งให้ประมวลผลเพื่อทำงาน
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
เครื่องคอมพิวเตอร์
เครื่องคอมพิวเตอร์ (computer machine) และ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (computer accessories) เป็นส่วนประกอบทางกายภาพของคอมพิวเตอร์ เป็นส่วนที่จับต้องได้ เรียกว่า ฮาร์ตแวร์ (hardware หรือ computer hardware) ภายในฮาร์ดแวร์ประกอบด้วยแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเป็นโครงสร้างสถาปัตยกรรมแบบเปิด มีผู้ผลิตอุปกรณ์หลากประเภทได้มาตรฐานเดียวกันจึงใช้ประกอบชิ้นส่วนเข้าทำงานร่วมกันได้ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลได้รับความนิยมตลอดมาสำหรับส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ มีดังนี้
ตัวถังฝาครอบ หรือ เคส (case) เป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์โดยทั่วไปมีรูปร่างเป็นกล่องเหล็กสี่เหลี่ยม มีน้ำหนักมาก ภายในมีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ตัวฝาครอบใช้ครอบป้องกันอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ภายในจากฝุ่น การกระแทก ตัวถังมีช่องยืดอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ภายในเคส ประกอบด้วย
- หน่วยประมวลผลกลาง หรือ ซีพียู (CPU) คำว่า CPU ย่อมาจาก Central Processing Unit หรือแปลตามตัวว่า หน่วยประมวลกลาง ทำหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูล ทำงานตามชุดคำสั่ง ภายในหน่วยประมวลผลกลาง ประกอบสามหน่วยย่อยคือ
· หน่วยควบคุม (CU- Control Unit) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงาน การถอดรหัสคำสั่งและประมวลผลตามรหัสคำสั่ง
· หน่วยคำนวณทางตรรกะ (ALU- Arithmetic and Logical Unit) ทำหน้าที่คำนวณทางคณิตศาสตร์และทางตรรกะ
· หน่วยคำนวณเลขทศนิยม (FPU- Floating Point Unit) ทำหน้าที่คำนวณตัวเลขทศนิยม
· หน่วยควบคุม (CU- Control Unit) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงาน การถอดรหัสคำสั่งและประมวลผลตามรหัสคำสั่ง
· หน่วยคำนวณทางตรรกะ (ALU- Arithmetic and Logical Unit) ทำหน้าที่คำนวณทางคณิตศาสตร์และทางตรรกะ
· หน่วยคำนวณเลขทศนิยม (FPU- Floating Point Unit) ทำหน้าที่คำนวณตัวเลขทศนิยม
- แผงวงจรหลัก หรือ เมนบอร์ด (Main Board) หรือ มาเธอร์บอร์ด (Mother Board) ทำหน้าที่เป็นแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์และรับรองอุปกรณ์ต่อพ่วง เช่น หน่วยความจำ และการ์ดต่าง ๆ เป็นต้น
- แหล่งจ่ายไฟ หรือ เพาเวอร์ซัพพลาย (Power Supply) ทำหน้าที่จ่ายไฟให้กับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั้งหมด โดยแปลงจากกระแสไฟสลับเป็นไฟกระแสตรง เป็นส่วนที่ต่อกับไฟบ้าน 220 โวลต์สำหรับในประเทศไทย
- หน่วยความจำรอม หรือ รอม (ROM) คำว่า ROM ย่อมาจาก Read Only Memory แปลตามตัวว่า หน่วยความจำแบบอ่านอย่างเดียว ทำหน้าที่ในการบริการข้อมูลให้กับคอมพิวเตอร์ การเก็บข้อมูลแบบนี้เป็นแบบถาวร มาจากโรงงานผู้ผลิต เมื่อเปิดเครื่องข้อมูลจะคงอยู่ไม่หายไป
- หน่วยความจำแรม หรือ แรม (RAM) คำว่า RAM ย่อมาจาก Random Access Memory แปลตามตัวว่า หน่วยความจำเข้าถึงแบบสุ่ม ทำหน้าที่ในการเก็บข้อมูลระหว่างที่เครื่องกำลังทำงาน การเก็บข้อมูลแบบนี้เป็นแบบไม่ถาวร ถ้าปิดเครื่อง หรือไฟดับ ข้อมูลจะหายไป
- การ์ดต่าง ๆ (Computer Card) เป็นแผงวงจรที่มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับเป็นส่วนต่อขยายให้คอมพิวเตอร์มีความสามารถเพิ่มขึ้น เช่น การ์ดเน็ตเวิร์ค กราฟิกการ์ดสามมิติ การเสียง ฯลฯ
- ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) ทำหน้าที่เขียนและอ่านข้อมูล เป็นการเก็บข้อมูลอย่างถาวร ตัวสื่อแม่เหล็ก เมื่อปิดเครื่องหรือไฟดับ ข้อมูลที่เก็บไว้จะคงอยู่ไม่หายไป
- ซีดีรอมไดร์ฟ ( CD ROM Drive) ย่อมาจาก Compact Disk Read Only Memory ทำหน้าที่อ่านข้อมูลจาก แผ่นซีดี (CD ROM Disc) ซีดีรอมไดร์ฟบางตัวสามารถบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดีเปล่าได้แต่จะสามารถบันทึกได้เพียงครั้งเดียว ส่วนการบันทึกข้อมูลและลบเขียนทับได้เรียก ซีด๊อาร์ดับบลิว
- ดีวีดีรอมไดร์ฟ (DVD ROM Dive) ทำหน้าที่อ่านข้อมูลจาก แผ่นดีวีดี แผ่นดีวีดีที่เขียนได้เรียก ดีวีดีอาร์ ส่วนเขียนและลบเขียนใหม่ได้เรียก ดีวีดีอาร์ดับบลิว
- ช่องต่อพอร์ตต่าง ๆ (Computer Port ) เป็นช่องสำหรับต่อพ่วงอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ภายนอก เช่น เครื่องพิมพ์ จอภาพ ยูเอสบีไดร์ฟ เป็นต้น ช่องต่อพอร์ตจะมีรูปร่างลักษณะแตกต่างกันไป จึงไม่สามารถใช้อุปกรณืต่อสลับช่องกันได้
- ฟลอปปี้ไดร์ฟ (Floppy Dive) ทำหน้าที่เขียนและอ่านข้อมูลลงใน แผ่นฟลอปปี้ มีหลายขนาดด้วยกัน ปัจจุบันแผ่นปลอปปี้เป็นอุปกรณืที่กำลังลดความนิยมลง เนื่องจากความนิยมใช้ ยูเอสบีไดร์ฟ ที่เพิ่มมากขึ้น
การบำรุงรักษาอุปกรณ์
การบำรุงรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทำได้โดยการระวังไม่กระแทกอุปกรณ์แรงๆ เนื่องจากคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าควรระวังไม่ให้น้ำหรือเครื่องดื่มต่างๆ หกลงบนแป้นพิมพ์และตัวเครื่อง
การทำความสะอาดสามารถทำได้ด้วยน้ำยาเฉพาะสำหรับทำความสะอาดคอมพิวเตอร์และใช้กับส่วนของอุปกรณ์ภายนอกเท่านั้น
สรุป
บทนี้ได้กล่าวถึง คอมพิวเตอร์ หลักการทำงานคอมพิวเตอร์เบื้องต้น ในส่วนของฮาร์ดแวร์หรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ การจำแนกประเภทอุปกรณ์ การต่อพ่วงอุปกรณ์ และการบำรุงรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์